เหมือนเช่นทุกปี วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่คือวันรวมญาติ คนในตระกูลวัฒนะพันธ์ จะมารวมตัวกันที่บ้านหลังนี้ บ้านที่มีผู้อาวุโสสุดพักอาศัยอยู่ ปีนี้นางมีอายุแปดสิบปี ทว่าร่างกายยังแข็งแรง ลุกเดินได้โดยไม่ต้องมีใครช่วยพยุงหรือใช้เครื่องทุ่นแรง โดยเฉพาะฝีปาก ยังกล้าแข็งไม่แผ่ว และเป็นที่นับถือของลูกหลาน ที่ออกเกรงกลัวพลังอำนาจของนาง เพราะนางเป็นคนเดียวที่ช่วยให้ธุรกิจครอบครัว ผ่านวิกฤตมาได้อย่างหวุดหวิด
ลัดดาคนกุมอำนาจในบ้านนั่งอยู่ในห้องรับแขก โดยมีลูกหลานราวเจ็ดคนนั่งล้อมรอบ ใบหน้าทุกคนเกลื่อนด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข พูดคุยเรื่องธุรกิจที่เพิ่งฟื้นตัวอย่างภาคภูมิใจ
ต่างกับผู้หญิงคนหนึ่ง ดวงหน้าหวานอาบความเศร้า นัยน์ตาหล่อนหมองหม่น ความเสียใจ น้อยใจโบกทับจิตใจจนมันสูงเสียดฟ้า แล้วดูเหมือนว่า ความรู้สึกทั้งหลายจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ หญิงสาวเดินถือกระเป๋ากลางเก่ากลางใหม่เข้ามาในห้องดังกล่าว กุลธิรัตน์นั่งคุกเข่าบนพื้น
“ลูกหมีมาลาคุณย่าค่ะ” ลัดดาปรายตามองหลานสาวแสนชังแวบเดียว คล้ายไม่ใส่ใจคำพูด
“อืม ก็ไปสิ มัวรออะไร คนของบ้านโน้นมารอรับแล้ว อย่าพิรี้พิไรเลย” ไม่มีคำอวยพร ไม่มีประโยคที่ชวน
ให้รู้สึกว่า เป็นห่วงเป็นใย ชวนให้รู้สึกว่าเป็นการเสือไสไล่ส่งมากกว่า กุลธิรัตน์น้ำตารื้น หัวใจเจ็บปวดมาก
“ลูกหมีลาคุณพ่อคุณแม่ค่ะ” หล่อนยกมือไหว้บิดามารดาที่แทบไม่สนใจ อภิรักษ์ก้มหน้ากดมือถือ อนงค์ยกน้ำชาขึ้นมาจิบ ไม่มีใครกล่าวคำใด มีแต่ความหมางเมิน ไม่เห็นกุลธิรัตน์อยู่ในสายตา กุลธิรัตน์ยกมือไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ในห้องรับแขก ก่อนลุกขึ้นยืน หยิบกระเป๋าเดินทาง ก้าวเดินออกไปนอกบ้าน
“นี แกเอาน้ำมนต์มาถูกบ้านฉันด้วยนะ แล้วฉีดให้ทั่วบ้านด้วยนะ ตัวเสนียดไปแล้ว ฉันไม่อยากให้เศษเสนียดในตัวมันอยู่ในบ้านหลังนี้”
เสียงคำสั่งดังมากพอให้คนกำลังเดินออกจากบ้านได้ยิน กุลธิรัตน์กลั้นน้ำตาไม่ได้ มันหยดลงเคลียร์แก้มนวล หยาดน้ำตาที่ไม่เคยห่างใบหน้าสาว มันหลังรินมาตลอดนับตั้งแต่หล่อนเกิดมา ยี่สิบเจ็ดปี เป็นเวลาอันยาวนานมาก กุลธิรัตน์หวังเหลือเกินว่า ที่อยู่ใหม่ของตน จะทำให้หล่อนไม่ต้องหลั่งน้ำตา หล่อนอยากมีรอยยิ้ม มีความสุขเหมือนคนอื่นบ้าง
กุลธิรัตน์หวังเช่นนั้น...
สามเดือนต่อมา
มื้อเช้าบ้านหิรัญภักดีถูกจัดขึ้นโต๊ะ เมนูอาหารเช้านี้คือ ข้าวต้มกระดูกหมูทรงเครื่อง หลังจากจัดสำรับเรียบร้อย คนทำอาหารปลีกตัวออกมานอกห้องทานอาหาร เพื่อทำอีกหนึ่งหน้าที่ โดยไม่ได้นั่งร่วมโต๊ะ ทั้งที่หล่อนมีตำแหน่งภรรยาหลานชายเจ้าของบ้าน
หญิงสาวคนนั้นคือ...กุลธิรัตน์
หน้าที่ต่อมาของหล่อนคือ จัดเตรียมรองเท้าให้สามีแสนเย็นชา ที่คาดเดาไม่ได้ว่า เขาสวมใส่คู่ใดไปทำงาน ทางเดียวคือ หล่อนเตรียมให้เขาทุกคู่ นำมาเรียงไว้หน้าประตูบ้าน เขาอยากใส่คู่ใด สุดแต่ใจ ทำหน้าที่นี้เสร็จ หล่อนเดินอ้อมเข้าครัวทางด้านหลัง ก่อนนั่งกินมื้อเช้าเงียบๆ คนเดียวในครัว
กุลธิรัตน์มองช้อย คนรับใช้ที่เดินเข้ามาในครัว ช้อยไม่ได้เดินตัวเปล่าเข้ามา หล่อนถือชามข้าวต้มเข้ามาด้วย ก่อนวางลงบนโต๊ะเตรียมอาหาร
“ใครไม่กินมื้อเช้าจ้ะช้อย” กุลธิรัตน์ถามช้อย
“คุณอิฐรับแค่กาแฟค่ะ บอกว่าไม่อยากกินข้าวต้ม”
ช้อยตอบตามตรง ทว่าบอกไม่หมด ช้อยไม่ได้เติมคำว่า เพราะมันไม่อร่อย เกรงว่าหากพูดออกไป คนตั้งใจทำอาหารจะเสียใจมากกว่านี้ ความที่กุลธิรัตน์ทำอาหารให้คนในบ้านกิน มักจะถูกติหรือต่อว่าอาหารไม่อร่อยเสมอ น่าแปลกที่อาหารไม่อร่อยมักถูกกินเกลี้ยง มันย้อนแย้งกับคำว่า ไม่อร่อยเหลือเกิน
ขณะที่ช้อยเตรียมกาแฟให้ธรรม์บดี กุลธิรัตน์หน้าเศร้า ลุกขึ้นยืนเดินทำแซนวิชทูน่ากับแฮมอย่างละหนึ่งชิ้น ก่อนจัดเรียงใส่กล่องใบเล็ก หล่อนไม่สนใจอาหารที่ยังกินไม่หมด เดินออกจากประตูด้านหลังครัว เดินตามทางไปยังหน้าประตูบ้าน แล้วนั่งคอยสามีตรงม้านั่ง ช้อยรู้ว่ากุลธิรัตน์ทำอะไร หล่อนอยากค้าน แต่ก็รู้ว่าคงไม่สำเร็จ ช้อยจึงปล่อยให้กุลธิรัตน์ทำตามใจ
“ข้าวต้มอร่อยจะตาย ทำไมพี่อิฐไม่กินล่ะ อย่าอคติหน่อยเลย” รัตนพรพูดกับพี่ชายที่กินข้าวต้มไปเพียงคำเดียวก็ขอเปลี่ยนเป็นกาแฟ ให้เหตุผลว่าไม่อร่อย
“ก็ไม่อร่อย กินไม่ลง” ธรรม์บดีตอบกลับ “แกกินอร่อยก็กินไปสิ ไม่ต้องมายุ่งกับพี่หรอก”
“สงสารคนทำ ตื่นแต่เช้ามาทำให้กิน ยังหมางเมิน ระวังเถอะเมียจะหนีไปมีชู้” รัตนพรอดหมั่นไส้พี่ชายไม่ได้
“เหอะ ใครจะเอาก็เอาไปเถอะ จะแถมเงินให้ล้านนึงกับทองคำอีกยี่สิบบาทด้วย” ธรรม์บดีไม่สนใจเมียตัวเอง กลับไล่ส่ง
“เสียเงินไปตั้งเยอะ แกจะเสือกไสไล่ส่งมันแบบนี้ไม่ได้นะ อย่างน้อยก็ให้มันท้อง คลอดเหลนให้ฉันก่อน ค่อยไล่มันไป”
ไม่ใช่ว่าคนพูดอยากได้กุลธิรัตน์เป็นหลานสะใภ้ เดือนดาวหมายตาอีกคนหนึ่งไว้ แต่อีกฝ่ายกลับส่งกุลธิรัตน์มาให้ เดือนดาวโกรธมากเพราะไม่เป็นไปตามข้อตกลง ทว่าพอลัดดาตอบกลับมา เดือนดาวถึงกับอึ้ง และต้องยอมรับ กุลธิรัตน์ เนื่องจากลัดดาไม่ได้ผิดสัญญาที่ให้ไว้
“ข้อตกลงของเราคือ เงินสามสิบล้านแลกกับหลานสาวของฉัน ก็ลูกหมีไงหลานสาวคนโตของฉัน ฉันผิดข้อตกลงตรงไหน”
กุลธิรัตน์เป็นหลานสาวที่ลัดดาไม่ต้องการ ความเชื่อเรื่องดวงที่ว่า หากหลานนางที่เกิดมาเป็นผู้ชาย จะทำให้ตระกูลเจริญรุ่งเรือง ตรงกันข้ามหากเป็นหญิง จะเป็นตัวอัปมงคลต่อตระกูล อาจถึงขั้นทำให้ล่มจม นำพาความวิบัติมาให้ ช่วงเวลานั้นอนงค์ตั้งครรภ์ได้ห้าเดือน และมีการ อัลตร้าซาวด์เพื่อระบุเพศ ทว่าทารกในครรภ์หนีบขาไว้แน่น ทำอย่างไรก็ไม่สามารถมองเห็นเพศได้ เหมือนฟ้าช่วยให้เด็กคนนี้เกิดมา ไม่ว่ากี่ครั้งที่ดูเพศ ก็จะมองไม่เห็น ขาบังไว้ทุกครั้ง มารู้เพศเด็กในวันคลอด
เมื่อลัดดากับครอบครัวรู้ว่า เด็กที่เกิดมาเป็นผู้หญิง ทุกคนจึงพากันเกลียดชัง ไม่เว้นแม้แต่บิดามารดาเด็กน้อย ที่แทบไม่ใส่ใจดูแล ทั้งที่เป็นหลานคนแรกของตระกูล กุลธิรัตน์เลยถูกเมินเฉย ถูกทอดทิ้งให้คนรับใช้เก่าแก่เป็นผู้ดูแล และไม่ให้ออกนอกหน้า หรือบอกใครต่อใครว่าเป็นทายาท น้อยคนนักจึงรู้เรื่องนี้ ต่างกับชนินทร์และคีรยา น้องชายและน้องสาว กุลธิรัตน์ ที่ได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดูอย่างดี ราวกับเป็นเจ้าชายและเจ้าหญิง ลัดดาหาทางให้กุลธิรัตน์ออกจากบ้านมาช้านาน ทั้งให้อยู่โรงเรียนประจำของรัฐบาล ไม่ใช่โรงเรียนที่มีชื่อเสียง แต่เป็นสถานสงเคราะห์ ส่วนใหญ่เด็กมาจากครอบครัวยากจน เด็กกำพร้า และมาจากดอยสูง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้กลับบ้านแค่ช่วงปิดเทอมเท่านั้น อาจพูดได้ว่า ทอดทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ไม่สนใจใยดี ความรัก ความอบอุ่นอย่าหวังว่าจะได้ หลังจบชั้นมัธยมปลาย กุลธิรัตน์กลับมาอยู่บ้านลัดดา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นลูกคุณหนูอยู่อย่างสุขสบาย หล่อนเปรียบเสมือนคนรับใช้คนหนึ่งของบ้าน ทำงานแลกข้าว แลกที่อยู่ที่กิน ห้องนอนของหล่อนอยู่เรือนคนใช้ทางด้านหลังบ้า
10.30 น. ธรรม์บดีเงยหน้ามองคนที่เดินเข้ามาในห้อง เขาวางปากกาลงบนโต๊ะ เอนตัวพิงเก้าอี้ด้วยท่าทางสบายๆ นรภัทรยิ้มให้เพื่อน ทรุดตัวลงนั่งบนเก้าอี้ตัวตรงกันข้าม “ฉันนัดนายเที่ยง มาทำห่าไรตอนนี้วะ” เจ้าของห้องถาม “มาส่งคุณแม่ที่โรงพยาบาลน่ะ เลยแวะมาเลย” “แล้วไม่รอท่านกลับบ้านเหรอ” “ไม่อ่ะ เดี๋ยวพี่เมฆมารับ” นรภัทรตอบ เขามองถุง แซนวิชบนโต๊ะทำงาน ไม่ถามเจ้าของห้อง คว้าถุงมาวางตรงหน้า หยิบของว่างออกมาหนึ่งชิ้นแล้วลงมือรับประทานทันที “อืม แซนวิชนี่อร่อยดีนะ” สายตาแปลกใจของธรรม์บดีมองหน้าผู้พูดที่เคี้ยวของกินในปาก “แค่แซนวิชธรรมดา อร่อยตรงไหนวะ” “ตรงน้ำสลัดไง ไส้แซนวิชเหมือนกันทั้งนั้นแหละ ต่างกันก็ตรงน้ำสลัดที่สูตรใครสูตรมัน” นรภัทรตอบเพิ่มเติม “ว่าแต่นายซื้อที่ไหนมา อร่อยดี” “ไม่ได้ซื้อ ลูกมะ...ลูกหมีทำให้ฉันกิน” ธรรม์บดีเกือบหลุดปากเรียกผิดชื่อ ดีที่รู้ตัวทัน “ฉันยังไม่ทันกิน นายดันกินซะก่อน” “ช่วยไม่ได้ นายไม่กินเอง” พูดจบก็กัดกินที่เหลือเข้าปาก “ฉันไม่อยากกินต่างหากล่ะ เพราะถ้าอ
“ฉันก็มองหางานให้อยู่นะ ที่บริษัทก็มีตำแหน่งว่า แต่ก็เบื่อระบบเด็กฝาก ถ้าเส้นไม่ใหญ่ สู้เขาไม่ได้”“ฉันเข้าใจ ฉันก็หางานเองด้วย รอติดต่อกลับมาทั้งนั้น” กุลธิรัตน์บอกเพื่อน “แกน่ะเก็บเงินไว้บ้างก็ดีนะ นึกถึงตอนไม่มีไง คนเรามันไม่แน่นอนนะ”กุลธิรัตน์เป็นคนประหยัด รู้จักกินรู้จักใช้ ตามประสาคนหาเงินส่งเสียตัวเองเรียนจนจบปริญญาตรี “ส่วนที่เก็บก็มี ส่วนที่ใช้ก็ต้องมีหรือเปล่า ส่วนที่กินก็ต้องมีด้วย ฉันไม่ได้กินบ่อยๆ นะ เดือนนึงกินสักครั้ง อีกอย่างแกกับปูจาไม่ใช่ผีปอบนะถึงกินล้างผลาญ ไปกินปิ้งย่างร้านนี้ อย่างมากก็แค่สองพัน ฉันเลี้ยงแกสองคนได้ แกไม่ต้องคิดมาก” พัชรินทร์บอกเพื่อนให้เข้าใจ “ว่าแต่แกเถอะ เป็นไงบ้าง โอเคหรือเปล่า” คำถามนี้ กุลธิรัตน์ทำหน้าเศร้า แต่ก็ยังยิ้มบางส่งให้เพื่อน “ก็ไม่ได้อะไร โอเคนะ ฉันไหว”พัชรินทร์มองหน้าเพื่อนที่ชีวิตเหมือนมีมรสุมพัดผ่านตลอดเวลา ลูกนั้นไป ลูกใหม่มา แต่ละลูกกระหน่ำใส่ไม่ลืมหูลืมตา เปรียบดั่งราหูอมจันทร์แบบไม่มีวันคาย หล่อนว่าชีวิตตนลำบากแล้ว เจอชีวิตกุลธิรัตน์เข้าไป หล่อนชิดซ้ายตกขอบโลก “ไม่พูดเรื่องนี้ดีกว่า
บ้านวัฒนะพันธ์หลังจากไม่มีตัวซวย บรรยากาศภายในบ้านดูครึกครื้น ทุกคนมีแต่รอยยิ้ม ไม่ต้องอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดใจยามเห็นหน้ากุลธิรัตน์ ลูกหลานแสนเกลียดชัง โดยเฉพาะลัดดา ที่ดูมีความสุขมากที่สุด “พักนี้คุณแม่ดูอารมณ์ดีนะคะ ยิ้มแย้มทุกวันเลย” อนงค์เอ่ยขึ้น ยกถ้วยน้ำชาขึ้นจิบ “แน่สิ ฉันไม่ต้องทนเห็นหน้าลูกสาวคนโตของเธอไง เห็นแล้วอารมณ์เสีย” ลัดดาไม่กลั้นความชิงชัง อนงค์ยิ้มบาง หยิบของว่างขึ้นมากิน “ฉันว่าจะหาคู่ให้ลูกแก้ว หล่อนคิดว่ายังไง” “ลูกแก้วจะยอมหรือคะ รายนั้นน่ะ หัวแข็ง คงไม่ยอมถูกบังคับเหมือนลูกหมีแน่ค่ะ” อนงค์รู้นิสัยลูกทั้งสามคนดีว่า ใครคุมได้และคุมไม่ได้ “ทำไมคุณแม่คิดหาคู่ให้ลูกแก้วล่ะคะ” “ถ้าได้ครอบครัวคนรวยๆ ฐานะมั่นคงมาเกี่ยวดองด้วย มันก็เป็นเรื่องดีกับเราไม่ใช่เหรอ เวลาล้มก็ยังมีฟูกรองรับ ไม่ได้ล้มบนพื้นแข็งๆ แล้วยังมีคอนช่วยพยุง มีแต่ได้กับได้นะ” “ถ้าคุณแม่ให้ลูกแก้วไปอยู่กับอิฐ แทนที่จะส่งลูกหมีไป ไม่แน่ว่าเราอาจไม้หลักดีๆ ไว้พยุงตัวนะคะ”อนงค์ค้านแม่สามีไม่ได้ ใจจริงนางอยากให้คีรยาไปเป็นลูกสะใภ้หิรัญภักดีมากกว่า เพราะทางน
คีรยาไม่ได้กลับบ้านหลายวัน หล่อนมาเที่ยวภูเก็ตกับกลุ่มเพื่อนสนิท ที่ล้วนเป็นลูกหลานคนมีเงิน ที่พักเป็นวิล-ล่าหรูบนภูเขาติดทะเล ราคาที่พักต่อคืนสูงถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท เช่าเรือยอร์ชท่องเที่ยวทางทะเลแบบส่วนตัว ไปตามเกาะขึ้นชื่อตามโปรแกรมการเที่ยว เดิมทีวันนี้คีรยากับเพื่อน ตั้งใจไปเกาะพีพีดอน ทว่าฝนตกตั้งแต่เช้าจนถึงตอนนี้ยังไม่หยุด พวกเขาและหล่อนจึงพักผ่อนอยู่ในห้อง “แกดูอะไรอยู่เอิร์น” คีรยาเดินมายังห้องโถงใหญ่ของวิลล่า ทักถามเมื่อเห็นชุตินันท์ก้มดูมือถือ “ส่องผู้ชาย” “ไหนคนไหน” คนถามทรุดตัวลงนั่งใกล้เพื่อน “คนนี้ไง” ชุตินันท์ชี้ให้คีรยาดูผู้ชายที่ตนสนใจ ในภาพบนจอมือถือเป็นบุรุษสามคน หนึ่งในสามคนนั้นคีรยารู้จัก เคยพูดคุยกันสามครั้ง “เขาชื่อคุณโฟร์คเป็นลูกชายเจ้าของโรงพยาบาลมิคาเรลกรุ๊ป รวยมากเลยนะแก” “เขาเป็นเพื่อนพี่อิฐ ก็ต้องรวยอยู่แล้ว” “แกรู้จักคุณอิฐเหรอ ทำไมฉันไม่รู้ล่ะ” “ตอนที่ฉันบอกแก แกสนใจฟังที่ไหน มัวแต่คุยกับผู้ชาย แกเลยไม่รู้ว่า ผู้ชายที่คุณย่าจะให้ฉันไปเป็นแม่พันธ์ให้ คือพี่อิฐ” “
สองวันต่อมา มื้อเช้าบ้านหิรัญภักดีเป็นไปอย่างทุกวัน คนทำอาหารคือกุลธิรัตน์ ที่เปลี่ยนเมนูไม่ซ้ำกัน คนในบ้านกินอาหารตามปกติ ส่วนแม่ครัวหลังจากอาบน้ำแต่งตัวด้วยชุดเรียบร้อย หล่อนออกจากบ้านหลังใหญ่ เช่นสามวันที่ผ่านมา “กาแฟค่ะคุณอิฐ” ช้อยวางถ้วยกาแฟแทนที่ชามข้าวต้มทะเล ธรรม์บดีจิบดื่ม เขารู้สึกถึงรสชาติที่ไม่เหมือนเดิม “ทำกาแฟเป็นแบบนี้” ธรรม์บดีถามสาวใช้ “เหมือนกาแฟชงสำเร็จรูปเลย” “ใช่ค่ะ เป็นกาแฟสำเร็จรูปค่ะ” ช้อยตอบ “พอดีเครื่องชงกาแฟเครื่องใหม่ที่เพิ่งซื้อมา ช้อยกับนางทำไม่เป็นค่ะ คุณลูกหมีสอนแต่ก็จำไม่ได้” “แล้วทำไมลูกหมา...เอ๊ย! ลูกหมีไม่ชงล่ะ” ธรรม์บดีถามต่อ “คุณลูกหมีไม่อยู่ค่ะ เธอทำกับข้าวเสร็จก็ออกไปข้างนอกค่ะ ไปมาสามวันแล้วค่ะ” “ไปไหน” ปกติธรรม์บดีไม่สนใจว่า ภรรยาไปไหนมาไหน ทว่าวันนี้อยากรู้มาก “ไม่ทราบค่ะ ช้อยไม่ได้ถามค่ะ คุณลูกหมีก็ไม่ได้บอก” “ย่าก็สังเกตนะว่า หลายวันมานี้ลูกหมีออกไปข้างนอกทุกวัน กลับมาก็ค่ำๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าไปไหน แต่ก็ดี ย่าจะได้ไม่เกะกะลูกตา” เดือนดาวไม่สนใจกุลธิรัต
มิ่งเมืองเห็นว่ากุลธิรัตน์ว่างงาน และไม่อยากให้เพื่อนสนิทอยู่ในบ้านที่ไม่มีใครต้องการ ในวันที่นัดเจอกุลธิรัตน์กับพัชรินทร์ เขาพูดเรื่องนี้กับกุลธิรัตน์ ซึ่งหล่อนก็ยินดีทำแม้ว่าเพียงแค่เจ็ดวันก็ตาม ได้เงินไม่กี่พัน หล่อนก็ไม่เกี่ยง เก็บสะสมไว้เผื่อตอนได้งานทำ จะได้มีทุนเอาไว้ไปทำงาน “เสียดายนะคะที่รู้จักลูกหมีทีหลัง ไม่งั้นจะให้มาทำงานที่นี่เลย” ชนิตพรเสียดายข้อนี้ เพราะหายากที่เพียงไม่กี่วัน กุลธิรัตน์ก็เข้ากับเด็กๆ ได้ดี “นิไปก่อนนะคะ ต้องไปทำธุระให้คุณแม่” “ค่ะ ขับรถดีๆ นะคะ”ชนิตพรยิ้มให้คนพูด ก่อนหมุนตัวเดินไปขึ้นรถยนต์ จากนั้นก็ขับออกไป ภายในห้องขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเด็กหญิงและเด็กชายวัยหนึ่งปีถึงสี่ปีราวสิบคน นั่งเล่นอยู่บนพื้น โดยมีพี่เลี้ยงสองคนคอยช่วยกันดูแล แม้ว่ากุลธิรัตน์จะเหนื่อย หัวหมุนกับความซน ความดื้ออันไร้เดียงสาของเด็กๆ ทว่าหล่อนกลับมีความสุข สามวันมานี้ หล่อนยิ้ม หัวเราะมากขึ้น นัยน์ตาหม่นเศร้า มีความสดใส ร่าเริง ถึงจะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่กุลธิรัตน์ถือว่า เป็นการบรรเทาความทุกข์ในใจลงไปได้มากโข ความบริสุทธิ์ สดใสของพวกเด็กๆ เ
“ลูกหมีมาแล้วค่ะคุณหมอ” อำพรบอกทั้งสอง “สวัสดีครับลูกหมี ได้เจอตัวจริงสักที ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ รู้ไหมว่านิชมลูกหมีกับพี่ไม่ขาดปากเลยนะ” ฐากูรทักทายกุลธิรัตน์ที่ยกมือไหว้ตน “สวัสดีค่ะคุณหมอ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ” ทั้งสองยิ้มให้กัน “พี่ขอตัวนะคะ ครั้งหน้าไว้คุยกันนะคะคุณหมอเอื้อ” “ครับพี่พร สวัสดีครับ” อำพรรับไหว้ ก่อนเดินไปทำงานตามหน้าที่ตน “เราไปกันเลยนะ กว่าจะถึงบ้านพี่เดี๋ยวรถติด” “ค่ะคุณหมอ” “เรียกพี่ว่าพี่ดีกว่านะ พี่เอื้อไรงี้ ดูเป็นกันเองดี เหมือนน้องสาวเรียกพี่ชายน่ะ” “ได้ค่ะพี่เอื้อ” กุลธิรัตน์ไม่ขัดข้อง ลึกๆ ในหัวใจอยากให้ฐากูรเป็นพี่ชาย แต่ก็รู้ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ สองหนุ่มสาวพากันเดินไปที่รถ ฐากูรเป็นสุภาพบุรุษ เปิดประตูให้กุลธิรัตน์สอดตัวเข้าไปนั่ง ก่อนที่เขาจะเดินอ้อมมานั่งประจำที่คนขับ ไม่กี่วินาทีต่อมา เขาทะยานรถออกจากหน้าอาคาร มุ่งหน้ากลับบ้าน เสียงโมบายหน้าประตูร้านดังขึ้น คนเปิดประตูเดินเข้ามาพร้อมกับสตรีร่างเล็ก ทั้งคู่เดินมาหยุดยืนตรงเคาน์เตอร์ร้าน พนักงานหญิงยกมือไหว้ลูก
ความรู้สึกกรกนกเวลานี้อธิบายไม่ถูก นางมองหน้าเกลื่อนด้วยรอยยิ้มของกุลธิรัตน์แล้วยิ้มตาม นางมีความสุขมากกับการได้พบกุลธิรัตน์ เสี้ยวใจหนึ่งกระตุ้นบอกว่า นางกำลังได้ของที่หายไปกลับคืนมา ไม่ทราบเหตุผลที่สมองคิดเช่นนี้ แต่มันบอกเช่นนั้นจริงๆ คุยกันสักครู่ ทั้งหมดพากันเดินไปกินมื้อเย็นในห้องกินข้าว อาหารมื้อนี้เป็นอาหารง่ายๆ ต้มยำทะเล ผัดผักรวมมิตร น้ำพริกกะปิกับปลาทูตัวใหญ่ มีผักเครื่องเคียงหลายชนิด ทั้งลวกและแบบสด แกงจืดเต้าหูไข่ไก่ใส่หมูสับ เอาไว้ซดคล่องคอ กรกนกเจริญอาหารกว่าทุกวัน นางรู้สึกดี ยิ้มทุกครั้งที่กุลธิรัตน์เอาอกเอาใจ ตักกับข้าวใส่จาน แกงจืดตักใส่ถ้วยแบ่งให้ ไม่ลืมใส่ต้มยำให้อีกหนึ่งถ้วยเล็ก การกระทำของกุลธิรัตน์ ทำให้นางนึกถึงเก็จมณี ลูกสาวคนเล็กจอมเอาแต่ใจ อาจเป็นเพราะถูกตามใจแต่เยาว์วัยจากตัวนางเองและคนรอบข้าง เป็นนิสัยแก้ไม่หาย แล้วดูเหมือนว่าจะมากขึ้นทุกวันด้วยทำให้อดเปรียบเทียบกับเก็จมณีลูกสาวนางไม่ได้ ไม่เคยทำเหมือนกุลธิรัตน์ ยามกินอาหารก็ต่างคนต่างกิน แทบไม่ได้คุยอะไรกันมาก หากมีเรื่องคุยก็ไม่พ้นขอนั่นขอนี่ คำพูดคำจาต่างกัน กุลธิรัตน์วาจาไพเราะ มี
“ลูกหมีมาแล้วค่ะคุณหมอ” อำพรบอกทั้งสอง “สวัสดีครับลูกหมี ได้เจอตัวจริงสักที ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ รู้ไหมว่านิชมลูกหมีกับพี่ไม่ขาดปากเลยนะ” ฐากูรทักทายกุลธิรัตน์ที่ยกมือไหว้ตน “สวัสดีค่ะคุณหมอ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ” ทั้งสองยิ้มให้กัน “พี่ขอตัวนะคะ ครั้งหน้าไว้คุยกันนะคะคุณหมอเอื้อ” “ครับพี่พร สวัสดีครับ” อำพรรับไหว้ ก่อนเดินไปทำงานตามหน้าที่ตน “เราไปกันเลยนะ กว่าจะถึงบ้านพี่เดี๋ยวรถติด” “ค่ะคุณหมอ” “เรียกพี่ว่าพี่ดีกว่านะ พี่เอื้อไรงี้ ดูเป็นกันเองดี เหมือนน้องสาวเรียกพี่ชายน่ะ” “ได้ค่ะพี่เอื้อ” กุลธิรัตน์ไม่ขัดข้อง ลึกๆ ในหัวใจอยากให้ฐากูรเป็นพี่ชาย แต่ก็รู้ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ สองหนุ่มสาวพากันเดินไปที่รถ ฐากูรเป็นสุภาพบุรุษ เปิดประตูให้กุลธิรัตน์สอดตัวเข้าไปนั่ง ก่อนที่เขาจะเดินอ้อมมานั่งประจำที่คนขับ ไม่กี่วินาทีต่อมา เขาทะยานรถออกจากหน้าอาคาร มุ่งหน้ากลับบ้าน เสียงโมบายหน้าประตูร้านดังขึ้น คนเปิดประตูเดินเข้ามาพร้อมกับสตรีร่างเล็ก ทั้งคู่เดินมาหยุดยืนตรงเคาน์เตอร์ร้าน พนักงานหญิงยกมือไหว้ลูก
มิ่งเมืองเห็นว่ากุลธิรัตน์ว่างงาน และไม่อยากให้เพื่อนสนิทอยู่ในบ้านที่ไม่มีใครต้องการ ในวันที่นัดเจอกุลธิรัตน์กับพัชรินทร์ เขาพูดเรื่องนี้กับกุลธิรัตน์ ซึ่งหล่อนก็ยินดีทำแม้ว่าเพียงแค่เจ็ดวันก็ตาม ได้เงินไม่กี่พัน หล่อนก็ไม่เกี่ยง เก็บสะสมไว้เผื่อตอนได้งานทำ จะได้มีทุนเอาไว้ไปทำงาน “เสียดายนะคะที่รู้จักลูกหมีทีหลัง ไม่งั้นจะให้มาทำงานที่นี่เลย” ชนิตพรเสียดายข้อนี้ เพราะหายากที่เพียงไม่กี่วัน กุลธิรัตน์ก็เข้ากับเด็กๆ ได้ดี “นิไปก่อนนะคะ ต้องไปทำธุระให้คุณแม่” “ค่ะ ขับรถดีๆ นะคะ”ชนิตพรยิ้มให้คนพูด ก่อนหมุนตัวเดินไปขึ้นรถยนต์ จากนั้นก็ขับออกไป ภายในห้องขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเด็กหญิงและเด็กชายวัยหนึ่งปีถึงสี่ปีราวสิบคน นั่งเล่นอยู่บนพื้น โดยมีพี่เลี้ยงสองคนคอยช่วยกันดูแล แม้ว่ากุลธิรัตน์จะเหนื่อย หัวหมุนกับความซน ความดื้ออันไร้เดียงสาของเด็กๆ ทว่าหล่อนกลับมีความสุข สามวันมานี้ หล่อนยิ้ม หัวเราะมากขึ้น นัยน์ตาหม่นเศร้า มีความสดใส ร่าเริง ถึงจะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่กุลธิรัตน์ถือว่า เป็นการบรรเทาความทุกข์ในใจลงไปได้มากโข ความบริสุทธิ์ สดใสของพวกเด็กๆ เ
สองวันต่อมา มื้อเช้าบ้านหิรัญภักดีเป็นไปอย่างทุกวัน คนทำอาหารคือกุลธิรัตน์ ที่เปลี่ยนเมนูไม่ซ้ำกัน คนในบ้านกินอาหารตามปกติ ส่วนแม่ครัวหลังจากอาบน้ำแต่งตัวด้วยชุดเรียบร้อย หล่อนออกจากบ้านหลังใหญ่ เช่นสามวันที่ผ่านมา “กาแฟค่ะคุณอิฐ” ช้อยวางถ้วยกาแฟแทนที่ชามข้าวต้มทะเล ธรรม์บดีจิบดื่ม เขารู้สึกถึงรสชาติที่ไม่เหมือนเดิม “ทำกาแฟเป็นแบบนี้” ธรรม์บดีถามสาวใช้ “เหมือนกาแฟชงสำเร็จรูปเลย” “ใช่ค่ะ เป็นกาแฟสำเร็จรูปค่ะ” ช้อยตอบ “พอดีเครื่องชงกาแฟเครื่องใหม่ที่เพิ่งซื้อมา ช้อยกับนางทำไม่เป็นค่ะ คุณลูกหมีสอนแต่ก็จำไม่ได้” “แล้วทำไมลูกหมา...เอ๊ย! ลูกหมีไม่ชงล่ะ” ธรรม์บดีถามต่อ “คุณลูกหมีไม่อยู่ค่ะ เธอทำกับข้าวเสร็จก็ออกไปข้างนอกค่ะ ไปมาสามวันแล้วค่ะ” “ไปไหน” ปกติธรรม์บดีไม่สนใจว่า ภรรยาไปไหนมาไหน ทว่าวันนี้อยากรู้มาก “ไม่ทราบค่ะ ช้อยไม่ได้ถามค่ะ คุณลูกหมีก็ไม่ได้บอก” “ย่าก็สังเกตนะว่า หลายวันมานี้ลูกหมีออกไปข้างนอกทุกวัน กลับมาก็ค่ำๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าไปไหน แต่ก็ดี ย่าจะได้ไม่เกะกะลูกตา” เดือนดาวไม่สนใจกุลธิรัต
คีรยาไม่ได้กลับบ้านหลายวัน หล่อนมาเที่ยวภูเก็ตกับกลุ่มเพื่อนสนิท ที่ล้วนเป็นลูกหลานคนมีเงิน ที่พักเป็นวิล-ล่าหรูบนภูเขาติดทะเล ราคาที่พักต่อคืนสูงถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท เช่าเรือยอร์ชท่องเที่ยวทางทะเลแบบส่วนตัว ไปตามเกาะขึ้นชื่อตามโปรแกรมการเที่ยว เดิมทีวันนี้คีรยากับเพื่อน ตั้งใจไปเกาะพีพีดอน ทว่าฝนตกตั้งแต่เช้าจนถึงตอนนี้ยังไม่หยุด พวกเขาและหล่อนจึงพักผ่อนอยู่ในห้อง “แกดูอะไรอยู่เอิร์น” คีรยาเดินมายังห้องโถงใหญ่ของวิลล่า ทักถามเมื่อเห็นชุตินันท์ก้มดูมือถือ “ส่องผู้ชาย” “ไหนคนไหน” คนถามทรุดตัวลงนั่งใกล้เพื่อน “คนนี้ไง” ชุตินันท์ชี้ให้คีรยาดูผู้ชายที่ตนสนใจ ในภาพบนจอมือถือเป็นบุรุษสามคน หนึ่งในสามคนนั้นคีรยารู้จัก เคยพูดคุยกันสามครั้ง “เขาชื่อคุณโฟร์คเป็นลูกชายเจ้าของโรงพยาบาลมิคาเรลกรุ๊ป รวยมากเลยนะแก” “เขาเป็นเพื่อนพี่อิฐ ก็ต้องรวยอยู่แล้ว” “แกรู้จักคุณอิฐเหรอ ทำไมฉันไม่รู้ล่ะ” “ตอนที่ฉันบอกแก แกสนใจฟังที่ไหน มัวแต่คุยกับผู้ชาย แกเลยไม่รู้ว่า ผู้ชายที่คุณย่าจะให้ฉันไปเป็นแม่พันธ์ให้ คือพี่อิฐ” “
บ้านวัฒนะพันธ์หลังจากไม่มีตัวซวย บรรยากาศภายในบ้านดูครึกครื้น ทุกคนมีแต่รอยยิ้ม ไม่ต้องอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดใจยามเห็นหน้ากุลธิรัตน์ ลูกหลานแสนเกลียดชัง โดยเฉพาะลัดดา ที่ดูมีความสุขมากที่สุด “พักนี้คุณแม่ดูอารมณ์ดีนะคะ ยิ้มแย้มทุกวันเลย” อนงค์เอ่ยขึ้น ยกถ้วยน้ำชาขึ้นจิบ “แน่สิ ฉันไม่ต้องทนเห็นหน้าลูกสาวคนโตของเธอไง เห็นแล้วอารมณ์เสีย” ลัดดาไม่กลั้นความชิงชัง อนงค์ยิ้มบาง หยิบของว่างขึ้นมากิน “ฉันว่าจะหาคู่ให้ลูกแก้ว หล่อนคิดว่ายังไง” “ลูกแก้วจะยอมหรือคะ รายนั้นน่ะ หัวแข็ง คงไม่ยอมถูกบังคับเหมือนลูกหมีแน่ค่ะ” อนงค์รู้นิสัยลูกทั้งสามคนดีว่า ใครคุมได้และคุมไม่ได้ “ทำไมคุณแม่คิดหาคู่ให้ลูกแก้วล่ะคะ” “ถ้าได้ครอบครัวคนรวยๆ ฐานะมั่นคงมาเกี่ยวดองด้วย มันก็เป็นเรื่องดีกับเราไม่ใช่เหรอ เวลาล้มก็ยังมีฟูกรองรับ ไม่ได้ล้มบนพื้นแข็งๆ แล้วยังมีคอนช่วยพยุง มีแต่ได้กับได้นะ” “ถ้าคุณแม่ให้ลูกแก้วไปอยู่กับอิฐ แทนที่จะส่งลูกหมีไป ไม่แน่ว่าเราอาจไม้หลักดีๆ ไว้พยุงตัวนะคะ”อนงค์ค้านแม่สามีไม่ได้ ใจจริงนางอยากให้คีรยาไปเป็นลูกสะใภ้หิรัญภักดีมากกว่า เพราะทางน
“ฉันก็มองหางานให้อยู่นะ ที่บริษัทก็มีตำแหน่งว่า แต่ก็เบื่อระบบเด็กฝาก ถ้าเส้นไม่ใหญ่ สู้เขาไม่ได้”“ฉันเข้าใจ ฉันก็หางานเองด้วย รอติดต่อกลับมาทั้งนั้น” กุลธิรัตน์บอกเพื่อน “แกน่ะเก็บเงินไว้บ้างก็ดีนะ นึกถึงตอนไม่มีไง คนเรามันไม่แน่นอนนะ”กุลธิรัตน์เป็นคนประหยัด รู้จักกินรู้จักใช้ ตามประสาคนหาเงินส่งเสียตัวเองเรียนจนจบปริญญาตรี “ส่วนที่เก็บก็มี ส่วนที่ใช้ก็ต้องมีหรือเปล่า ส่วนที่กินก็ต้องมีด้วย ฉันไม่ได้กินบ่อยๆ นะ เดือนนึงกินสักครั้ง อีกอย่างแกกับปูจาไม่ใช่ผีปอบนะถึงกินล้างผลาญ ไปกินปิ้งย่างร้านนี้ อย่างมากก็แค่สองพัน ฉันเลี้ยงแกสองคนได้ แกไม่ต้องคิดมาก” พัชรินทร์บอกเพื่อนให้เข้าใจ “ว่าแต่แกเถอะ เป็นไงบ้าง โอเคหรือเปล่า” คำถามนี้ กุลธิรัตน์ทำหน้าเศร้า แต่ก็ยังยิ้มบางส่งให้เพื่อน “ก็ไม่ได้อะไร โอเคนะ ฉันไหว”พัชรินทร์มองหน้าเพื่อนที่ชีวิตเหมือนมีมรสุมพัดผ่านตลอดเวลา ลูกนั้นไป ลูกใหม่มา แต่ละลูกกระหน่ำใส่ไม่ลืมหูลืมตา เปรียบดั่งราหูอมจันทร์แบบไม่มีวันคาย หล่อนว่าชีวิตตนลำบากแล้ว เจอชีวิตกุลธิรัตน์เข้าไป หล่อนชิดซ้ายตกขอบโลก “ไม่พูดเรื่องนี้ดีกว่า
10.30 น. ธรรม์บดีเงยหน้ามองคนที่เดินเข้ามาในห้อง เขาวางปากกาลงบนโต๊ะ เอนตัวพิงเก้าอี้ด้วยท่าทางสบายๆ นรภัทรยิ้มให้เพื่อน ทรุดตัวลงนั่งบนเก้าอี้ตัวตรงกันข้าม “ฉันนัดนายเที่ยง มาทำห่าไรตอนนี้วะ” เจ้าของห้องถาม “มาส่งคุณแม่ที่โรงพยาบาลน่ะ เลยแวะมาเลย” “แล้วไม่รอท่านกลับบ้านเหรอ” “ไม่อ่ะ เดี๋ยวพี่เมฆมารับ” นรภัทรตอบ เขามองถุง แซนวิชบนโต๊ะทำงาน ไม่ถามเจ้าของห้อง คว้าถุงมาวางตรงหน้า หยิบของว่างออกมาหนึ่งชิ้นแล้วลงมือรับประทานทันที “อืม แซนวิชนี่อร่อยดีนะ” สายตาแปลกใจของธรรม์บดีมองหน้าผู้พูดที่เคี้ยวของกินในปาก “แค่แซนวิชธรรมดา อร่อยตรงไหนวะ” “ตรงน้ำสลัดไง ไส้แซนวิชเหมือนกันทั้งนั้นแหละ ต่างกันก็ตรงน้ำสลัดที่สูตรใครสูตรมัน” นรภัทรตอบเพิ่มเติม “ว่าแต่นายซื้อที่ไหนมา อร่อยดี” “ไม่ได้ซื้อ ลูกมะ...ลูกหมีทำให้ฉันกิน” ธรรม์บดีเกือบหลุดปากเรียกผิดชื่อ ดีที่รู้ตัวทัน “ฉันยังไม่ทันกิน นายดันกินซะก่อน” “ช่วยไม่ได้ นายไม่กินเอง” พูดจบก็กัดกินที่เหลือเข้าปาก “ฉันไม่อยากกินต่างหากล่ะ เพราะถ้าอ
เมื่อลัดดากับครอบครัวรู้ว่า เด็กที่เกิดมาเป็นผู้หญิง ทุกคนจึงพากันเกลียดชัง ไม่เว้นแม้แต่บิดามารดาเด็กน้อย ที่แทบไม่ใส่ใจดูแล ทั้งที่เป็นหลานคนแรกของตระกูล กุลธิรัตน์เลยถูกเมินเฉย ถูกทอดทิ้งให้คนรับใช้เก่าแก่เป็นผู้ดูแล และไม่ให้ออกนอกหน้า หรือบอกใครต่อใครว่าเป็นทายาท น้อยคนนักจึงรู้เรื่องนี้ ต่างกับชนินทร์และคีรยา น้องชายและน้องสาว กุลธิรัตน์ ที่ได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดูอย่างดี ราวกับเป็นเจ้าชายและเจ้าหญิง ลัดดาหาทางให้กุลธิรัตน์ออกจากบ้านมาช้านาน ทั้งให้อยู่โรงเรียนประจำของรัฐบาล ไม่ใช่โรงเรียนที่มีชื่อเสียง แต่เป็นสถานสงเคราะห์ ส่วนใหญ่เด็กมาจากครอบครัวยากจน เด็กกำพร้า และมาจากดอยสูง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้กลับบ้านแค่ช่วงปิดเทอมเท่านั้น อาจพูดได้ว่า ทอดทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ไม่สนใจใยดี ความรัก ความอบอุ่นอย่าหวังว่าจะได้ หลังจบชั้นมัธยมปลาย กุลธิรัตน์กลับมาอยู่บ้านลัดดา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นลูกคุณหนูอยู่อย่างสุขสบาย หล่อนเปรียบเสมือนคนรับใช้คนหนึ่งของบ้าน ทำงานแลกข้าว แลกที่อยู่ที่กิน ห้องนอนของหล่อนอยู่เรือนคนใช้ทางด้านหลังบ้า